ประวัติวัด

                                                                      วัดบางโปรง
วัดบางโปรง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐ หมู่ที่ ๒ ตำบลบางโปรง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เนื้อที่ ๙ ไร่ ๔ ตารางวาอาณาเขตทิศเหนือยาว ๒ เส้น ๑๑ วา ติดต่อกับ             คลองบางโปรง ทิศใต้ยาว ๓ เส้น ๓ วา ติดต่อกับลำกระโดง ทิศตะวันออกยาว ๒ เส้น ๑๘ วา  ติดต่อกับลำกระโดง ทิศตะวันตกยาว ๓ เส้น ๑๖ วา ติดต่อกับที่ดินของคุณครูบัณฑิตย์ ศรีเขียว ที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๒ แปลงเนื้อที่ ๒ ไร่ ๑ งาน
การคมนาคม มีถนนรถยนต์เข้าถึงวัด โดยผ่านถนนปู่เจ้าสมิงพรายเข้าสอยวัดสวนส้ม
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึง
วัดบางโปรงสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๑๙๑๒ เดิมเป็นที่ปลงศพในสมัยที่พระเจ้าอู่ทองเสด็จตรวจราชการข้าราชพริพารที่ตามเสด็จได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคระบาดจึงต้องปลงศพในที่แห่งนี้ ชาวบ้านในแถบนั้นก็ใช้ที่แห่งนี้เป็นที่ปลงศพด้วย เลยเรียกว่า บางปลง ครั้นสร้างวัดขึ้นขนานนามวัดว่า              วัดบางปลง เมื่อกาลเวลาผ่านไป นามวัดได้เปลี่ยนเป็นวัดบางโปรง เพื่อมิให้มีความหมายตรงกับคำว่า ปลงศพ
วัดบางโปรงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลัง เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๓ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ได้ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
การศึกษา ทางวัดได้เปิดการสอนพระปริยัติธรรมตั่งแต่พ.ศ. ๒๔๙๔ นอกจากนี้ยังได้สอนธรรมศึกษาแก่นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา วัดบางโปรง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๔ วัดบางโปรงได้มีเจ้าอาวาส ปกครองดูแลทำนุบำรุง เท่าที่สืบทราบดังนี้

๑.      พระอาจารย์มิตร
๒.    พระอาจารย์เหลือ
๓.     พระอาจารย์ปาด
๔.     พระอาจารย์เพิ่ม
๕.     พระอาจารย์เปลื้อง
๖.      พระอาจารย์ผัน
๗.     พระอาจารย์ฉ่อง
๘.     พระอาจารย์เคลือบ
๙.      พระใบฎีกาเทพ
๑๐.  พระใบฎีกาไพจิตร
๑๑. พระปลัดไปล่
๑๒. พระครูภัทรสมุทรคุณ
๑๓. พระครูพุทธิสารโสภิต  (เจ้าอาวาสปัจจุบัน)

เสนาสนะของวัดบางโปรง
๑. หอสวดมนต์ ๑ หลัง                        สร้าง พ.ศ. ๒๕๐๙
๒. กุฏิ ๘ หลัง                                        สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๓ - ๒๕๓๓
๓. อุโบสถ ๑ หลัง                                  สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๔
๔. วิหารคด                                            สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๔
๕. ฌาปนสถาน ๑ หลัง                       สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๗
๖. ศาลาท่าน้ำ ๕ หลัง                          สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๓๑
๗. ศาลาดิน ๑ หลัง                              สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๐
๘. หอระฆัง ๑ หลัง                              สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๓
๙. ศาลารับรอง ๑ หลัง                         สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๗
๑๐. ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง               สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๘
๑๑. ศาลาหลวงพ่อกั่ว ๑ หลัง            สร้าง พ.ศ. ๒๕๓๒
๑๒. ซองบรรจุศพ ๑ หลัง                  สร้าง พ.ศ. ๒๕๓๓
๑๓. ศาลาบำเพ็ญกุศล ๑ หลัง            สร้าง พ.ศ. ๒๕๓๖
๑๔. โรงครัว ๑ หลัง                              สร้าง พ.ศ. ๒๕๓๖
๑๕. ส้วม ๑๕ ที่

 

พระครูพุทธิสารโสภิต
เจ้าอาวาสวัดบางโปรง ตำบลบางโปรง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ
(รูปปัจจุบัน)



หลวงพ่อกั่วประจำวัดบางโปรง
ประชาชนในตำบลบางโปรง และตำบลใกล้เคียง ให้ความเคารพนับถือมาก
หลวงพ่อกั่ว
ของดีของวัดบางโปรง
หลวงพ่อกั่ว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยอยุธยา มีอายุประมาณ ๓๐๐ ปีเศษ ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๘ นิ้ว สูง ๗๓ นิ้ว เดิมชำรุดซ่อมด้วยตะกั่วจึงเรียก หลวงพ่อกั่ว เป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนตำบลบางโปรงและตำบลใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมากสำหรับพี่น้องในตำบลบางโปรงไม่ว่าจะทำกิจกรรมใด หรือได้รับทุกข์ภัย ต้องนึกถึงหลวงพ่อกั่วเป็นเบื้องต้นซึ่งได้รับผลทางใจเป็นอย่างดีทุกครั้ง
จากอำนาจบารมีของหลวงพ่อกั่ว คระกรรมการวัดบางโปรง จึงจัดทำเป็นรูปเหรียญ รูปหล่อ เพื่อให้ประชาชนได้บูชา ที่จัดทำไปแล้วมีดังนี้
พ.ศ. ๒๕๑๓    - สร้างกริ่งหลวงพ่อกั่ว
                                           - สร้างรูปเหรียญหลวงพ่อกั่ว แบบสามเหลี่ยม ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อกั่ว   
                                              ด้านหลังเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์
                                           - สร้างหลวงพ่อกั่วแบบรูปชา ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ นิ้ว ชนิดขัดและชนิดรมดำ
พ.ศ. ๒๕๑๔     - สร้างรูปเหรียญหลวงพ่อกั่ว แบบสามเหลี่ยมสองหน้า ด้านหน้าเป็นรูปหลวง

                               พ่อกั่ว ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อพุทธโสธร
พ.ศ. ๒๕๒๑     - สร้างพระผงหลวงพ่อกั่วแบบพิมพ์ใหญ่
                                             - สร้างพระผงหลวงพ่อกั่วแบบพิมพ์เล็ก
พ.ศ. ๒๕๒๒    - สร้างรูปเหรียญหลวงพ่อกั่ว แบบรูปไข่สองหน้าด้านหน้ารูปหลวงพ่อกั่ว
                                ด้านหลังรูปหลวงพ่อพุทธโสธร
                                             - สร้างรูปเหรียญหลวงพ่อกั่วแบบกลมประกอบยอดแหลม
พ.ศ. ๒๕๒๖      - สร้างหลวงพ่อกั่วแบบบูชา ขนาดหน้าตักกว้าง ๗ นิ้ว- สร้างหลวงพ่อกั่วแบบบูชา ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว
พ.ศ. ๒๕๒๗     - สร้างหลวงพ่อกั่วแบบพิมพ์สี

- สร้างหลวงพ่อกั่วแบบบูชา ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว
พ.ศ. ๒๕๒๗     - สร้างหลวงพ่อกั่วแบบพิมพ์สี




วัตถุมงคลหลวงพ่อกั่ววัดบางโปรง







1 ความคิดเห็น:

  1. ได้ความรู้มากครับ จากประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุยัน

    ตอบลบ